โรงเรียนวัดปากช่อง (จันทรานุมาศวิทยาคาร)

หมู่ที่ 2 บ้านปากช่อง ตำบล ปากช่อง อำเภอ จอมบึง จังหวัด ราชบุรี 70150

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

032 740734

พระประจำวันเกิด มีพระแบบใดและมีคำกล่าวตอนสวดว่าอย่างไรบ้าง

พระประจำวันเกิด ในแต่ละวันมีพระที่มีชื่อว่าอะไรบ้างและมีบทสวดอย่างไร

พระประจำวันเกิด ความเชื่อในทางพุทธศาสนา วันที่สำคัญของแต่ละคนได้แก่วันเกิด ซึ่งจะมีพระประจำวันเกิดไว้ให้บูชาประจำวัน ซึ่งมัตั้งแต่ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์-วันเสาร์ ใครที่บูชาพระวันเกิดเป็นประจำจะทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และมีความสุขตลอดได้ พระประจำวันเกิดดังกล่าวเริ่มจากวันอาทิตย์-วันเสาร์ ดังนี้

สำหรับผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ 

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางถวายเนตร ซึ่งมีพุทธลักษณะ อยู่ในอรินาบทยืน ลืมพระเนตรค้างไว้ทั้งสองข้าง และจ้องตรงไปข้างหน้าเพื่อทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหมโพธิ์ พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันอยู่ที่พระเพลา โดยมีพระหัตถ์ขวาซ้อนอยู่เหนือพระหัตถ์ซ้าย

ความเป็นมา เมื่อพระบรมศาสดาได้ทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่อย่างสงบ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 วันแล้วได้เสด็จไปประทับยืน กลางแจ้งหันพระพักตร์ไปทางทิศอีสาน ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบตา เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่นี้มีนามว่า “อนิมิสเจดีย์” ในปัจจุบันนี้ ทำให้สาธุชนได้สร้างพระพุทธรูปางถวสยเนตรขึ้นในเวลาต่อมาเพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์

สำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ 

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองแล้วยื่นออกไปข้างหน้าในท่าห้าม ส่วนปางห้ามญาติเป็นอิริยาบถเดียวกับปางห้ามสมุทร แต่ต่างกันที่ปางห้ามญาติจะยกพระหัตถ์ขวาเพียงข้างเดียว พระประจำวันจันทร์ส่วนใหญ่จะสร้างเป็นปางห้ามญาติ นิยมทำเป็นองค์ทรงเครื่อง

ความเป็นมา พระปางห้ามญาติ มีความเป็นมาอันเนื่องมาจากพระญาติฝ่ายพระบิดา และฝ่ายพระมารดาของพระพุทธองค์ ได้แก่พระญาติท่านฝ่ายกรุงกลิลพัสดุ์ และพระญาติทางฝ่ายกรุงเทวทหะ ที่ได้อาศัยอยู่คนละฝั่งแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเหตุแย่งน้ำในการเพาะปลูก ถึงขนาดจะยกทัพมาทำสงครามกัน พระพุทธองค์ทราบเหตุจึงเสด็จไปห้ามทัพ หรือห้ามพระญาติทั้งสองฝ่ายมิให้ฆ่าฟันกัน ด้วยอิริยาบถยกพระหัตถ์ขวาขึ้นในท่าห้ามพระญาติ ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นเรื่องทางพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล หรือนักบวชที่นุ่งห่มด้วยหนังเสือหรือพวกบูชาไฟ 3 พี่น้อง อันได้แก่ อุรุเวสกัสสปะ นีกัสสปะ และคยากัสสปะ ซึ่งนักบวชทั้ง 3 ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา พร้อมด้วยบริวารอีก 1,000 คน พระองค์ท่านไดแสดงพุทธปาฏิหาริย์หลายอย่างเพื่อเป็นการทำให้สิ้นศรัทธา เช่น การห้ามลม ห้ามฝน และห้ามพายุ ทำให้น้ำที่กำลังท่วมนองตลิ่งอยู่ในขณะนั้นลดลง และการเดินจงกรมภายใต้ท้องน้ำได้ ทำให้บรรดาพรามห์เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ และยอมเข้ามาบวชในพุทธศาสนาเป็นสาวกพระพุทธองค์ในที่สุด

สำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร 

พระประจำวันเกิดสำหรับผู้ที่เกิดวันนี้ ได้แก่ พระปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพาน พุทธลักษณะ องค์พระอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทันเสมอกัน ปล่อยพระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งรับพระเศียร ซึ่งมีหมอนรองรับ

ความเป็นมา พระปางไสยาสน์นี้ เรียกอีกอย่างว่า ปางปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปในพุทธประวัติตอนที่พระองค์ท่านได้รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะไว้ที่ตันรังคู่ เพื่อทรงประทันบรรณทมแบบสีหาไสยาสน์ โดยตั้งพระทัยว่าจะไม่เสด็จลุกขึ้นมาอีก ซึ่งพระองค์จะได้เป็นพระอรหันต์องค์สุดท้าย ก่อนเสด็จดังขันธปรินิพพาน ทำให้บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายพากันเศร้าโศก ร้องไห้ ถึงพระองค์ จงพระอานนท์และพระอนุรุทธเถระต้องแสดงธรรมเพื่อเป็นการปลอบประโลมให้หายเศร้าโศก ต่อมามีการสร้างพระปางนี้ขึ้นมา บูชาพระประจำวันเกิด

พระประจำวันเกิด

สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธ 

พระประจำวันเกิด ได้แก่ พระปางอุ้มบาตร พุทธลักษณะของพระพุทธรูป อยู่ในอิริยาบถยืน พระหันถ์ทั้งสองประคองบาตรอยู่ที่ราวสะเอว 

ความเป็นมา เพื่อให้พระญาติทั้งสองฝ่าย ลดละทิฐิ พระองค์ท่านได้เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เมื่อพระญาติฟังจบก็ได้แยกย้ายกันไป โดยไม่มีใครทูลให้ฉันพระกระยาหารเช้า ด้วยเข้าใจผิดว่าพระองค์จะต้องฉันเอง แต่พระพุทธองค์ได้พาพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ที่เตรียมอาหารไว้ให้มาถวาย โดยนับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระบารมี ทำให้มีการแซ่ซ้องกันมากกับอิริยาบถอุ่มบาตรโปรดสัตว์ ปรากฏว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดาทรงทราบ ก็โกรธเพราะเข้าใจผิดในพระองค์หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน พระองค์จึงต้องอธิบายว่าการออกบิณฑบาตนั้นเป็นการโปรดสัตว์ มิใช่ขอทานจำทำให้เข้าใจกันในที่สุด

พระประจำวันพุธ (กลางคืน) 

ได้แก่ ปางเลไลยก์ ซึ่งจะมีพุทธลักษณะดังนี้ องค์พระอยู่ในอิริยาบถประทับนั่ง อยู่บนก้อนหิน วางพระบาทบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายอยู่บนพระขนุ พระหัตถ์ขวาวางหงาย มีช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นลิงถึอรวงผึ้ง

ความเป็นมาก พระปางนี้ มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ซึ่งเป็นเมืองที่มีพระภิกษุอยู่มากมาย แต่ไม่มีความสามัคคี และไม่อยู่ในพุทธโอวาท มีความประพฤตินอกลู่นอกทาง เมื่อพระองค์รู่ดังนั้นจึงเสด็จหนีออกจากเมืองไปอยู่เพียงลำพังในป่าที่ชื่อว่าปาลีไลยกะ มีพญาช้างชื่อว่า ปาลิไลยกะ ได้มีความเลื่อมใสในพระองค์มาคอบปฏิบัติและคอยพิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมาทำร้ายพระองค์ ทำให้มีความสงบสุข ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น รักขิตวัน เมื่อพญาลิงมาเห็นเข้าก็เกิดเป็นกุศลจิตและทำตาม กาลต่อมามีชาวบ้านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ไม่พบ จึงได้ตำหนิพระองค์และไม่ยอมทำบุญด้วย เหล่าพระภิกษุทราบจึงได้ให้พระอานนท์ไปทูลเชิญให้พระองค์เสด็จลงมา ช้างปาลีไลยกะก็ตามมาด้วยแต่ได้ล้มตายเสียก่อน ด้วยกุศลบุญได้ไปเกิดเป็น ปาลิไลยกะเทพบุตร ต่อมามหาชนจึงได้สร้างพระปางนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์

สำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี

พระประจำวันนี้ได้แก่ ปางสมาธิ หรือปางตรัสรู้ ซึ่งมีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในอริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

ความเป็นมา พระปางตรัสรู้ หรือปางสมาธิ มีประวัติดังนี้ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ใกล้กับแม่น้ำเนรัญชรา และได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ซึ่งตรงกับวันวิสาขะบูชา

สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์

พระประจำวันเกิดได้แก่ พระปางรำพึง ซึ่งมีพุทธลักษณะ ดังนี้ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน ยกขึ้นประทับที่พระอุระ โดยมีพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ความเป็นมา เริ่มจากภายหลังที่พระองค์ตรัสรู้ พระองค์ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไทร ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ตรัสรู้ทั้งหมดว่าเป็นยธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะรู้ได้ จึงได้รู้สึกท้อพระทัยและคิดจะไม่สั่งสอนชาวโลกอีกต่อไป ด้วยรำพึงว่าจะมีสักกี่คนที่สามารถฟังธรรมของพระองค์เข้าใจ เรื่องทั้งหมดร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหม จึงได้มากราบทูลเพื่อให้ทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบางยังมีอยู่และต้องเข้าใจ พระพุทธองค์จึงได้แสดงธรรมแล้วก็เห็นชอบ อีกทั้งยังทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ว่าเมื่อตรัสรู้แล้วต้องแสดงธธรรมโปรดสัตว์เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการแสดงธรรมต่อชาวโลกเสมอมา จึงได้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางรำพึง หรือปางแสดงธรรมขึ้นมา

สำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์

พระประจำวันเสาร์ ได้แก่พระพุทธรูปปาง นาคปรก ซึ่งมีพุทธลักษณะดังนี้ เป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่ง ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคขดร่างแผ่พังพานอยู่เหนือพระเศียรเป็นบันลังก์ให้นั่งประทับ

ความเป็นมา เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ละประทับบำเพ็ญสมาบัติที่พ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลาแห่งละ 7 วัน ต่อมาได้ไปประทับที่ใต้ต้นมุจลินท์ หรือต้นจิก ได้เกิดมีฝนตกลงมาห่าใหญ่และไม่ยอมหยุด พญานาคที่ชื่อ มุจลินท์นาคราชได้ขึ้นจากน้ำมาแสดงอิทฤทธิ์ปกป้องโดยการแผ่พังพานเพื่อป้องกันฝนให้แก่พระองค์เป็นที่มาของพระปางนาคปรก